Pages

Monday 24 January 2011

โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำสาขานครนายกตอนบน ช่วยเหลือราษฎร ตอน ล่างของนครนายก
มีน้ำทำการเพาะปลูก อุปโภค-บริโภค และบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ทุกปี
สถานที่ตั้ง
บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก 
ลักษณะของเขื่อน
เขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น (Roller Compacted Concrete หรือ RCC Dam) สูง 93 เมตร ยาว 2,720 เมตร 
ความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบบคลองส่งน้ำ ยาว 41.541 กิโลเมตร ระบบคลองระบาย น้ำ ยาว 22. 51 กิโลเมตร
 ระยะเวลาก่อสร้าง เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น เริ่มตามสัญญาจ้าง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 สิ้นสุด วันที่ 30 ตุลาคม 2547 พื้นที่ได้รับผลกระทบ หมู่ที่ 1-3 ตำบลหินตั้ง จำนวน 3,674 ไร่ ราษฎรได้รับผลกระทบ

จำนวน 263 ครอบครัว จ่ายเงิน ค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน 398.41 ล้านบาท
ผลดำเนินงาน 
อยู่ระหว่างการก่อสร้างผลงาน ร้อยละ 50
หน่วยดำเนินการ 
กรมชลประทาน
พื้นที่รับประโยชน์ 
ราษฎร จำนวน 5,400 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร จำนวน 185,000 ไร่ โดยส่งน้ำเพิ่มประสิทธิ์
ภาพในพื้นที่เขตชลประทาน 171,000 ไร่ และพื้นที่ขยายใหม่ 14,000 ไร่ เขื่อนคลอท่าด่าน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดนครนายก
เนื่องจากพื้นที่ติดเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีทัศนียภาพสวยงาม อากาศ บริสุทธิ์

              โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากเขื่อนทั่วไป เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพราะมีปริมาตรคอนกรีตบดอัด (Roller Compacted
Concrete หรือ RCC Dam) ถึง 5,470,000 ลูกบาศก์เมตร สูง 93 เมตร ยาว 2,720 เมตร การก่อสร้างได้อาศัยหลักการของทฤษฎีคอนกรีตบดอัด
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการผสมผสานระหว่างวิศวกรรมงานดิน โดยพัฒนาจากการใช้วัสดุคอนกรีตเหลวมาเป็นคอนกรีตแห้ง
ด้วยวิธีการนำเอาเถ้าลอยลิกไนต์ (Fly Ash) ซึ่งเป็นชนิด Low Lime Class C ที่ได้จากเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
มาใช้เป็นส่วนผสมแทนซีเมนต์บางส่วน แล้วบดอัดด้วยรถบดแบบสั่นสะเทือนเหมือนบดอัดดิน
               โครงการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น มีขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระดับเก็บกัก +110 เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 3,087 ไร่ ซึ่งงานก่อสร้างต่าง ๆ ประกอบด้วย
- เขื่อนหลัก เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัด (Roller Compacted Concrete หรือ RCC Dam) สูง 93 เมตร ระดับสันเขื่อน +112 เมตร
(ระดับน้ำทะเลปานกลาง) ยาว 2,720 เมตร ปริมาตรคอนกรีตบดอัด 5,470,000 ลูกบาศก์เมตร
- เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam) เป็นเขื่อนดินสูง 46 เมตร ระดับสันเขื่อน +114 เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
กว้าง 8 เมตร ยาว 350 เมตร ปริมาตรเขื่อน 1,220,000 ลูกบาศก์เมตร
- อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)
- อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet)
- อาคารระบายน้ำ (Bottom Outlet)
- อาคารส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน (Irrigation Outlet)
- อาคารผันน้ำระหว่างการก่อสร้างเขื่อน ประกอบด้วย ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม อาคารกอนกรีต Retaining Wall
ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ และอาคารผันน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก





การพัฒนาเส้นทางคมนาคมไปเขื่อนคลองท่าด่านฯ และสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบ
เขื่อนคลองท่าด่านฯ อยู่ในพื้นที่ตำบลหินตั้ง เส้นทางที่เชื่อมไปยังเขื่อนคลองท่าด่านฯ ส่วนใหญ่เป็นถนนผิวจราจรกว้าง 6-7 เมตร
ในฤดูกาลท่องเที่ยวประสบปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากถนนคับแคบ จึงมีการเตรียมแผนปรับปรุง/
ขยายเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังเขื่อนคลองท่าด่านฯ และสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบตามลำดับความเร่งด่วน คือ
1. ทางหลวงหมายเลข 3239 เส้นทางนครนายก- บ้านท่าด่าน แขวงการทางปราจีนบุรีได้ทำการสำรวจออกแบบ
และพิจารณาการก่อสร้างเป็นถนน 4 ช่องทาง ไม่มีเกาะกลางถนนเพื่อลดการจัดซื้อที่ดินบริเวณ 2 ข้างทาง
2. ถนนหน้าเขื่อน (เส้นทางน้ำตกนางรอง- บ้านท่าด่าน) ระยะทาง 2.714 กม. กรมทางหลวงชนบทได้ออกแบบ
ขยายเส้นทางเป็นผิวจราจร 4 ช่องทางพร้อมเส้นทางจักรยาน
3. ถนนทางหลวง 3049 เส้นทางนครนายก- นางรอง แขวงการทางปราจีนบุรี มีแผนจะขยายเป็นผิวจราจร 4
ช่องทางพร้อมกับจัดระเบียบร้านค้าข้างทาง
4. ถนนเลี่ยงเมือง กรมทางกลวงชนบทมีแผนจะขยายเส้นทางเดิมเป็น 4 ช่องทาง
และจะของบประมาณขยายต่อเพื่อไปบรรจบถนนสุวรรณศรออกสู่จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ผ่านตัวเมืองนครนายก

มุมมอง การท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อนคลองท่าด่าน
การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อน ให้มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ ดังนี้
1. กิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ ใช้พื้นที่อ่างเก็บน้ำเป็นศูนย์หรือสถานที่เล่นกีฬาทางน้ำที่ปราศจากมลภาวะ
ไม่ใช้เครื่องยนต์ อาทิ เรือใบมด วินเซิร์ฟ แคนู การล่องเรือจากเขื่อน-น้ำตกเหวนรก ฯลฯ
2. กิจกรรมเดินป่าท่องไพร ให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการฯ และเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อาทิ
เส้นทางเขื่อน-น้ำตกเหวนรก และเส้นทางเดินขึ้นเขื่อนคลองท่าด่านฯ
3. กิจกรรมล่องเรือแคนู อบต.หินตั้ง พิจารณาวางแผนการจัดการพื้นที่ ศูนย์เล่นเรือแคนู โดยประสานแนวทางกับ
ททท. ภาคกลางเขต 8 นครนายก ร่วมกับโครงการก่อสร้าง 5 พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินงาน
4. กิจกรรมจักรยานท่องเที่ยว อบต.หินตั้ง เตรียมกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการ
รองรับการท่องเที่ยวของกลุ่มที่สนใจ โดยประสานแนวทางการจัดกับกรมทางหลวงชนบท และประสานพื้นที่กับโครงการก่อสร้าง 5






อ้างอิงจาก http://www.kanchanapisek.or.th/

No comments:

Post a Comment